เมนู

ทรงชักนำในทางที่ควรทำ จะได้ห้ามและชักนำทั่วไปหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงพระสวนาการฉะนี้ก็สาธุการชื่นชมนิยมปรีดา
อัตตนิปาตนปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

เมตตานิสังสปัญหา ที่ 4


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลิทน์ปิ่นสาคลราชตรัสประภาษถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปว่า ภนฺ-
เต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา เมตตาพรหม-
วิหารนี้ สมเด็จพระผู้มีสุนทรภาคหาตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ยุติด้วยวาระพระบาลีดังนี้ว่า
เมตฺตาย ภิกฺขเว เจโตวิมุตฺติยา อาเสวิตาย ภาวิตาย พหุลีกตาย ยานีกตาย วตฺถุกตาย
อนุฏฺฐิตาย ปริจิตาย สุสมารทฺธาน เอกาทสานิสํสา ปาฏิกงฺขา กตเม เอกาทส สุขํ สุปติ สุขํ
ปฏิพุชฺฌติ น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ มนุสฺสายํ ปิโย โหติ อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ เทวตา รกฺขนฺติ
นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยิ มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ อสมฺมุฬฺโห
กาลํ กโรติ อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ
ดังนี้
ใจความว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งเมตตาพรหมวิหารนี้มี 11 ประ
การ โยคาวจรภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา อาเสวิตาย มาเสพเอาเป็นอารมณ์ด้วยจิตอัน
เป็นเจโตวิมุตติ ปรารถนาจะให้สำเร็จในพระนพโลกุตรธรรม ภาวิตาย อุตสาหะมาจำเริญภาวนา
พหุลีกตาย กระทำให้มากในสันดาน ยานีกตาย กระทำดุจยวดยานขับขี่ วตฺถุกตาย กระทำ
เป็นที่เรือกสวนไร่นาอันจะเลี้ยงชีวิต อนุฏฺฐิตาย มีเพียงอันตื่นอยู่ไม่ประมาท ปริจิตาย
ขวนขวายสะสม สุสมารทฺธาย มีอารมณ์ปรารภคำนึงในสันดานแล้ว ก็มีคุณนิสงส์ถึง 11
ประการ สุขํ สุปติ คือจะหลับเป็นสุข 1 ปฏิพุชฺฌติ จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข 1 น ปาปกํ สุปินํ
ปสฺสติ
มิได้นอนฝันร้าย 1 มนุสฺสานํ ปิโย เป็นที่รักแก่หญิงชายชนทั้งหลายในโลกนี้ 1
อมนุสฺสานํ ปิโย เป็นที่รักแก่ภูตผีทั้งหลายนั้น 1 เทวตา รกฺขนฺติ ฝูงเทพยดาจะอภิบาลรักษา
1 นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ไฟก็ดี ยาพิษและพิษอสรพิษก็ดี สรรพศัสตราวุธก็ดี
มิได้ทำอันตราย 1 ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิตที่รวดเร็วกลับกลอกย่อมตั้งมั่น 1 มุขวณฺโณ
วิปฺปสีทติ
สีแห่งหน้าย่อมผ่องใสหมดจด 1 อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ ผู้เจริญเมตตานั้น เพื่อ

จะตายก็มีสติไม่ฟั่นเฟือน 1 อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต ผู้เจริญเมตตานั้น เมื่อไม่ยิ่งขึ้นไป ก็คงได้
บังเกิดในพรหมโลก 1 สิริเป็นคุณานิสงส์ถึง 11 ประการ สมเด็จพระอนาวรณญาณตรัส
ประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้เป็นเดิมฉะนี้ ตุมฺเห ภณเถ ครั้นมาเล่า พระผู้เป็นเจ้ากลับว่า
ใหม่ว่า พระสุวรรณสามบัณฑิตเจ้า เมตฺตาวิหารี มีปรกติจำเริญแต่เมตตาพรหมวิหาร
มิคสงฺเฆหิ ปริวาริโต เนื้อป่าพระหิมพานต์กับนางกินนรนงคราญ เป็นบริวารแวดล้อมอยู่ใน
ไพรสัณฑ์ประเทศราวป่า วันหนึ่งพระสุวรรณสามเสด็จมาตุกอุทกังไปเลี้ยงบิดามารดา ยังมี
พระยายักษ์ตนหนึ่งชื่อว่ากปิลยักษาธิราช แผลงศรพิฆาตถูกพระสุวรรณสามบัณฑิตเจ็บปวดปิ่ม
จะสิ้นชีวิตล้มลงสลบอยู่ นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า โยมคิดดูไม่สม พรหมวิหารคือเมตตานี้ ถ้าพระ
สุวรรณสามรักษาแล้วจะต้องศรพระยายักษ์ไยเล่า ด้วยเมตตาพรหมวิหารนั้นมีคุณ ย่อมจะ
ป้องกันเสียมิให้เป็นอันตรายได้ อยํ ปญฺโห ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรด
วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
สมเด็จพระสัพพัญญูผู้เลิศโลกธาตุมีพระพุทธฎีกาประกาศไว้ว่า คุณแห่งเมตตาพรหมวิหารนี้มี
11 ประการคุ้มได้จริง แต่เมื่อพระยายักษ์ยิงเอาพระสุวรรณสามนั้น พระสุวรรณสามยก
หม้อน้ำหนักกำลังผ่อนหายใจเผลอไป หาได้จำเริญพรหมวิหารอยู่เท่านั้น มหาราช ดูรานะ
บพิตรพระราชสมภาร เปรียบดุจโยธาทหารเอกอันหุ้มเกราะเพชรเสร็จแล้ว ก็เข้าไปกระทำ
การณรงค์สงครามกับด้วยข้าศึกมิได้ย่อหย่อน โยธาอื่นยังลูกศรมามิอาจเข้าติดเกราะเพชรได้
เกราะเพชรกันอยู่หาเข้าไม่ ฉันใดก็ดี อันว่าเมตตาพรหมวิหารนี้ก็มีคุณกันไว้ดุจเกราะเพชรนั้น
อนึ่ง เปรียบบุรุษอันได้รากไม้วิเศษอันจะอาเพศให้หายตัวได้ เดินไปในท่ามกลางประชุมชน บุรุษ
คนใดคนหนึ่งจะได้เห็นซึ่งบุรุษผู้นั้นหามิได้ ฉันใดก็ดี เมตตาพรหมวิหารนี้ ถ้าท่านผู้ใดจำเริญ
อยู่แล้วก็พระคุณคุ้มภัยได้ เปรียบเหมือนรากไม้ทิพย์วิเศษนั้น อนึ่งเล่า เปรียบดุจมหาคูหาถ้ำ
ทองอันใหญ่ ถ้ามหาเมฆในอากาศจะวิการบันดาลเป็นห่าฝนตกลงมา จะได้รั่วไหลเข้าไปใน
สุวรรณคูหานั้นหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด เมตตาพรหมวิหารนี้ไซร้ก็มีพระคุณดุจคูหานั้น
จะป้องกันเสียซึ่งอันตรายมิให้ถูกต้องกายผู้นั้น เหตุดังนี้ บุคคลผู้ใดจำเริญเมตตาพรหมวิหาร
ให้เป็นอารมณ์ ถือมั่นผูกจิตให้เป็นนิตย์นิรันดรแล้ว ก็ย่อมจะมีคุณานิสงส์ดุจวิสัชนามา ขอถวาย
พระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิราช พระบาทได้ทรงฟังก็ซ้องสาธุการ ชมปรีชาญาณ
แห่งพระนาคเสนในกาลนั้น

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ผู้ใดเอื้อเฟื้อเกื้อกูล
ในเมตตาภาวนา มาจำเริญเมตตาภาวนาจนคุ้นติดวิญญาณประจำใจอยู่แล้ว ผู้นั้นจะได้อานิสงส์
เป็นอันมากนักหนา เพราะฉะนั้น เมตตาภาวนานี้จึงควรที่บุคคลจะจำเริญยิ่งนัก ขอถวายพระพร
เมตตานิสังสปัญหา คำรบ 4 จบเพียงนี้

กุสลากุสลการิสส สมาสมปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ในสกลชมพูพิภพ ทรงพระปรารภถามปัญหาอื่น
สืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา วิปาโก อันว่าผลแห่งคนสองจำพวก คือ
จำพวกหนึ่งกระทำกุศล จำพวกหนึ่งกระทำอกุศล คนทั้งสองคนนี้จะได้ผลเท่ากันหรือ หรือจะ
ได้น้อยได้มากกว่ากันและต่างกันอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กุศล
กับอกุศลนี้มีผลต่างกัน ฝ่ายบุคคลที่กระทำการกุศลนั้น ครั้นกระทำกาลกิริยาแล้วบ่ายหน้าไป
สู่สวรรค์ บุคคลกระทำการอกุศลนั้นก็ได้เสวยผลเป็นอันเที่ยงที่จะไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตนี้ เอกนฺตกณฺโห เศร้าหมองโดยส่วนเดียวนี้ เอกนฺต-
สุกฺโก
ส่วนพระโพธิสัตว์เจ้านั้นบริสุทธิผ่องใสยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นใจเป็นอกุศล พระบรมโพธิ-
สัตว์เจ้ามีน้ำพระทัยเป็นกุศล ก็ไฉนเล่า บางชาติพระเทวทัตกับพระโพธิสัตว์เจ้ามียศศักดิ์ เสมอกัน
บางชาติไม่เสมอกัน ที่พระโพธิสัตว์มียศศักดิ์และขาติกำเนินต่ำกว่าก็มี เช่นเมื่อครั้งพระเทตทัต
เกิดในตระกูลพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี พระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้เกิดในตระกูล
คนจัณฑาลรู้วิชาการกระทำมะม่วงให้มีผลใช่ฤดู พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลต่ำกว่าเทวทัตนี้ชาติหนึ่ง
ปุน จ ปรํ ครั้นมาอีกเล่า พระเทวทัตเกิดเป็นกษัตริย์มีนามชื่อว่า พระเจ้าพาราณสี พระโพธิ-
สัตว์เจ้านี้เป็นช้างต้นมงคลหัตถีอันเผือกผู้ของพระเจ้าพาราณสี พระเทวทัตมีชาติสูงกว่าพระ
บรมโพธิสัตว์นี้ก็ชาติหนึ่ง ปุน จ ปรํ อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระบรมโพธิสิตว์
เป็นพระยาวานรมีนามกรชื่อว่ามหากปิ ชาติหนึ่งเล่า พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง
ฉัททันต์ พระเทวทัตนั้นเป็นพรานตามฆ่าเอางา อีกชาติหนึ่งเล่า พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระโพธิ-